Sunday, August 17, 2008

Circle

จากที่ได้วิทยาศาสตร์มาแล้วนั้นผมจึงไปวิเคราะห์ว่า วิทยาศาสตร์นั้นมีอะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์
- ความรู้เชิงประจักษ์ คือ การแจกแจงข้อเท็จจริงที่มีการทดลอง วิเคราะห์ ออกและขยายผลลัพธ์ออกมา
- คณิตศาสตร์
- การทดลอง
- สูตรวิทยาศาสตร์

จาก 4 อย่างที่นี้ผมคิดว่า สูตรวิยาศาสตร์นั้นมีความหน้าสนใจที่จะนำมาทำงาน แล้วสูตรอะไรที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกี่ยวกับหนังาสารคดี
ผมขอกลับไปที่หนังสารคดีนิดหนึงเพื่อไม่ให้เป็นการทิ้งมันไป หนังสารคดีนั้นเกี่ยวกับการแตกของโลกใน 7 อย่างซึ้งจะพูดถึงโลกนั้น
เป็นสิ่งที่ใหญ่และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากๆ เป็นอะไรที่ทุกคนก็รู้จัก ผมเลยสนใจการเคลื่อนที่แบบวงกลมซึ้งเป็นสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
ซึ่งเป็นสูตรในวิชา ฟิสิกส์ ม. ปลาย ซึ้งตอน ม. ปลายนั้นผมไม่ได้เรียนสายวิทย์มาด้วยจึงเป็นปัญหานิดหน่อยในการเข้าใจต่อสูตรนี้
ผมจึงได้โทรไปถามเพื่อนในสมัยม.ปลาย ก็ได้ถอดสสูตรนี้ออกมาคือ


จากสูตรนี้ท่าจะให้อธิบายง่ายๆก็คือเหมือนกับเราเหวี่ยงลูกตุ้มที่มีเชือกติดอยู่

Fc แรงสู่ศูนย์กลางคือ จุดที่เราจัดเชือกแล้วหมุน
M มวลของลูกตุ้ม
V ความเร็วในการหมุน
R รัสมี ความยาวของเชือก

ซึ่งในกรณีการที่จะเคลื่อนที่แบบวงกลมได้นั้นคือกำลังของมือเราว่าเหวี่ยงในความเร็วเท่าไหร่
แต่ในกรณีการหมุนของวงกลมแบบอื่นนั้นก็มีความแตกต่างไปอีกเช่นกันเช่น
การขับรถเป็นวงกลมก็มีความคล้ายกับการเหวี่งลูกตุ้มแต่การขับรถเป็นวงกลมนั้น
ตัวที่ขับเคลื่อนคือตัว มวล เป็นตัวกระทำ ต่างจากลูกตุ้มที่ มีจุดศูนย์กลางเป็นตัวกระทำแต่ให้การเกิดการเคลื่อนที่แบบวงกลมเช่นกัน
จากหนังสารคดีซึ่งผมคิดว่า การที่เขาต้องการแยกแยะว่าสิ่งไหนที่สามารถจะเกิดได้ตามลำดับ
ผมคิดว่าการที่เป็นหนังสารคดีนั้นมันมีความเป็นวิทยาศาสตร์ที่มาใช้ในตัวหนังนี้เป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็น 7 เรื่องที่มีการวิเคราะห์ว่าเรื่องไหนจะเป็นไปได้จริงมากน้อยแค่ไหน
และวิธีสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ หนังเรื่องนี้ใช้วิทยาศาสตร์เป็นตัวดำเนินเรื่องหลัก ๆ
ผมเลยคิดว่าการใช้วิทยาศาสตร์ของเขานั้นมีความกลมกล่อมกลับหนังสารคดีมากๆเช่นกัน

กลับมาที่งานตอนนี้ผมคิดว่าผมได้ก่อนความคิดอันแรกออกมาก็คือ

2020 Last day on earth

Communication Design 5
ในปีนี้นั้นทางอาจารย์ให้เราดูหนังสารคดี 3 เรื่อง ตกแล้วก็คือเรื่องละเซค
ซึ้งแต่ละเรื่องก็มีความแตกต่างกันไป

เซค 1 : 2020 Last day on earth
เซค 2 : เกี่ยวกับ การใช้พลังงาน
เซค 3 : เกี่ยวกับ Walmart

ซึ้งเรื่องของเซคอื่นนั้น ผมไม่ทราบชื่อเรื่องต้องขอโทษนะที่นี้ด้วย
เข้าเรื่องของเราดีกว่าอาทิตย์แรกนั้น อ. ให้ทุกคนดูหนัง
ซึ้งผมไม่ได้มาในวันนั้นจึงทำให้ผมไม่เข้าใจว่า จะทำงานออกมาอย่างไร
แต่ก็มีเพื่อนบอกว่าให้ดูหนังแล้วอย่า ติดกับตัวหนังมากคือดูแล้วคิดยังไงกับมัน
แล้วนำข้อคิดที่เราคิดว่าน่าจะเอามาทำงานได้

และจึงกลับไปดูตัวหนังซึ้งหนังนั้นมีการจัดอันดับการแตกของโลก คือมี 7 สิ่งที่จะมาทำลายมนุษย์และโลก

7.Death of a Star : Gramma Ray Burt (รังสีแกรมม่า)
: Black Hole (หลุมดำ)
6.Intelligent Machines (หุ่นยนต์)
5.Supervolcano (ลาวา)
4.Asteroid (อุกาบาต)
3.Nuclear War (สงครามนิวเคลียร์)
2.Plague (โรคระบาด)
1.Climate Change (อากาศเปลี่ยนแปลง)

สวัดีครับ ผมกลับมาแล้ว

สวัสดีทุกๆคนที่เข้าบังเอิญผ่านเข้ามาดูนะครับ

ด้วยจากความขี้เกียจของซึ่งไม่ได้อัพบล็อก มานานโขขขขข
ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเอาความคืบหน้าของงานที่เรียนมาให้ชมกันบ้าง

เริ่มด้วยงาน Commucationdesign 5 ที่ผมได้หนีมาลงเซค 1
ซึ่งเหตุที่หนีมาลงเซคนี้ก็เพราะ อยากลองของ !
ลองของในที่นี้ไม่ใช่ ของเขมรนะครับ
แต่เป็นการที่ได้มาเรียนกับอาจารย์ 2 ท่าน ผู้มีความน่าสนใจในการสอนซึ่งได้ยินมาตั้งแต่
ผมอยู่ปี 2-3 แล้ว และเพื่อนก็บอกมาว่าควรจะลองโดนอะไรแบบนี้บ้าง อาจารย์ทั้ง 2 ท่านนี้คือ

อ.สันติ (อ.ติ๊ก)
อ.อนุทิน (อ.นุ)

ซึ่งก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง ในช่วงเวลาเรียนนั้น ผมได้ซึ้งแล้วว่ามันเข้มข้น มีเหตุผล และ สนุกเช่นไร
จึงขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านด้วยนะครับ

Monday, January 14, 2008

Error Anatomy




ร่างกายที่มีความผิดพลาดนั้นส่วนมากก็จะเป็นเช่น พิการตามที่ต่างๆของร่างกาย
ผมเลยอยากจะนำเสนอในด้านของ เอ็กเฟ็กที่เกิด กับสื่อมีเดียเช่น ภาพและสี ที่มีความผิดพลาด
เลยดึง ร่างกาย และวิชวล ของความ Error ที่เกิดในสื่อมีเดีย มารวมกัน

ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากจะนำเสนอนั้นก็คือความสะดวกสบายของเทคโนโลยีสมัยนี้ก็ไม่ได้มีข้อดีอย่างเดียว
ข้อเสียของมันก็มีอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้เราลืมและละเลยกับร่างกายเรานั้นเอง
เลยจะนำเสนอโดยเป็นความนัย
ประมาณแบบนี้แหละครับ

ลองดู


จากรูปภาพนี้ผมได้ทดลองโดยการนำภาพหน้าตรงของผมเองซึ่งมีสัดส่วนที่ปกติ
แล้วนำมาจัดวางตำแหน่งของใบหน้าให้เหลี่อมกันนิดหน่อยโดยการใช้วางให้คล้ายๆกับตาราง
จึงเหมือนกับภาพวิดิโอ Error ซึ่งผมได้ลองถอดแบบเอ็ฟเฟ็กของความ Error มา
และสีที่เซฟมาเป็น CMYK จึงทำให้สีออกมาในโทนที่ออกตุนๆและซีดหน่อย

จากการระบายสีด้วยสี อะคิลิค แล้วนำมาสแกนซึ่งผมได้เปลี่ยนค่าสีให้ไม่เหมือนกันเช่นเดิม

ด้านบนเซฟเป็น RGB
ด้านล่างเซฟเป็น CMYK

ซึ่งเหตุผลที่ใช้การลงสีจริงนั้นผมตั้งใจว่าจะให้เห็นถึงการทับซ้อนของสีว่าจะมีเอฟเฟ็ก อย่างไรบ้าง
สีที่เลือกใช้ก็เป็นสีที่มอนิเตอร์ หรือ RGB อ่านได้นั้นเอง ผมจึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ สีดำ เพราะสีดำ เมื่อ
เซฟเป็น CMYK แล้วนำมา POST จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับพื้นที่ๆมีสีดำอยู่เลย