Thursday, December 27, 2007

มัน ผิดพลาด!


ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีก็สามารถ
เกิดความผิดพลาดได้ และมันก็เป็นสิ่งใหม่ จากชาร์ตที่ให้ดูด้านบนนี้
ผมตัดทอน บริบทขั้นตอนการเกิดของมันก็ มี อยู่ 3 ขั้นตอนนั้นเอง
โดยมี

1.สิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตหนึ่ง 2.แล้วก็โดนอะไรบางอย่างที่ไม่ได้คาดหมาย 3.ผลกระทบ ผิดพลาด

ฟังๆ ดูแล้วอาจจะคล้ายกับประโยคในหลักการขั้นตอนการใช้ภาษา ประธาน กิริยา กรรม อะไรอย่างงั้น
แต่ช่างมันเถอะ มาดูว่าอะไรที่มันเกิดความผิดพลาดที่เราสามารถเห็นในชีวิตประจำได้มั่ง

สื่ออิเล็คโทนิค
โทรทัศน์
คอมพิวเตอร์
เครื่องเล่น cd/dvd
วิทยุ / เครื่องเสียง
จากกลุ่มนี้จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราเห็นกับความผิดพลาดนั้นที่เรารับรู้ได้ ก็มี ภาพและเสียงที่เห็นได้ชัดและ
มีเอ็กเฟ็กที่น่าสนใจก็คือ เช่น
ภาพและเสียงของเครื่องเล่น dvd ที่กระตุกไปกระตุกมา ทำให้เกิดจังหวะใหม่
ทับซ้อน เบลอ บิดเบือน สีที่แปลกโดยมีเม็ดสี Pixel ที่เกิดมาซ้อนกัน เสียงที่ทับซ้อน กระตุก
หลักการเกิดของมันก็อาจจะเป็น 1.แผ่น dvd หนึ่งแผ่น 2.โดดรอยขีดค้วน หรือ การคัดลอกไฟล์ที่ไม่ถูกหลัก
3.จึงทำให้ภาพที่ผิดพลาดและมีความน่าสนใจ

สิ่งมีชีวิต
คน
สัตว์
เชื้อโรค
ต้นไม้
ธรรมชาติต่างๆ
เมื่อดูจากกลุ่มนี้นั้นมันก็สามารถเกิดการผิดพลาด กันได้เช่นกัน เช่น คนพิการ สัตว์กลายพันธ์
ต้นไม้ที่มีความแปลกประหลาด ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ประกฎการณ์ธรรมชาติที่มนุษย์เป็นคนสร้าง
หลักการเกิด ก็เหมือนๆกัน แต่แค่เปลี่ยนบริบทกันเท่านั้นเอง
คนพิการก็อาจจะเกิดกับอุบัติเหตุหรือการทำงานของร่างกายผิดปกติ
ฝนตกไม่ตามฤดูการก็เกิดจากคนตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดน้ำท่วม สึนามิ อะไรประมาณนี้

ที่เลือกกลุ่ม 2 กลุ่มนี้มาเพราะว่า สิ่งมีชีวิต กับ สิ่งไม่มีชีวิต นั้นเพระโลกเราก็มีอยู่ 2 อย่างนี้ที่อยู่ด้วยกันอยู่แล้ว มันสามารถที่จะมีการเชื่อมโยงอะไรบางอย่างเข้าด้วยกันได้นั้นเอง

Friday, December 7, 2007

พลาด ผิด ! เอ๋อ เหรอ


หลังจากที่จมกับงานของ David Carson และศิลปินคนอื่นๆมานาน (ไม่รู้ว่าจมจริงหรือเปล่า)

ตอนนี้เลยอยากจะหาประเด็นที่จะมาทำงานแล้ว วนๆเวียนๆ คิดๆ นั่งๆ นอนๆ คิดไปคิดมาก็เห็นสิ่งที่

Davis เขาได้ใช้และมันสิ่งที่น่าสนใจดี (ก็งานเขาเท่ห์ขนาดนี้) ขอเรียกเขาว่าท่านเด แล้วกัน

เขามีความสนใจกับความผิดพลาดของงาน ก็อย่างที่ว่ามาในช่วงต้น เขาได้นำความผิดพลาด

ซึ่งจริงแล้วนั้นมันเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยจะสนใจใยดีกันสักเท่าไร เมื่อมีคนบอกว่าทำงาน ผิดพลาด

ก็จะมองกันไปในแง่ลบต่างๆ ว่ามันไม่ดีอย่างโง้น อย่างงี้ แต่ท่าเรามองดีๆ ความผิดพลาด คลาดเคลื่อน บิดเบือนความเป็นจริงนั้น

ผมว่ามันน่าสนใจนะ เอ็ฟเฟ็ก ที่ออกมา มันดูมีความแปลกใหม่ พลึกกึกกือ น่าค้นหา ดีออก เช่นเวลาดูหนังอะไรอยู่เรื่องหนึ่ง

แล้วแผ่นมันกระตุก สิ่งที่ทำให้มันกรพตุก ก็อาจจะเป็น รอยแผ่นที่ไปโดนอะไรมา หรือ คุณภาพแผ่นที่ห่วยนั้นเอง

ภาพที่ได้ก็จะมีความแปลก กระตุก เลือนหาย ทับซ้อน น่าหงุดหงิดอย่างยิ่ง (จริงม่ะเหอๆ) แต่ไอ้อะไรพวกนี้แหละ

มันน่าสนใจดีอะ เหอๆ ๆๆๆ ๆๆๆ... ๆ ๆๆๆๆ

Monday, December 3, 2007







error ?

ข้อสรุปของ คาร์สันตามความเข้าใจของผม คือ เค้าใช้ ความผิดพลาด(Mistake) ที่เกิดขึ้นมาสร้างเป็นงาน
บวกกับ ความเบื่อ(Boring)ในกฎเกณฑ์ ต่างๆ จึงทำให้ คาร์สันสร้างงาน โดดเด่นและเป็นที่น่าสนใจ

วิเคราะห์ องค์ประกอบงานของ DC โดยการแปลงภาพให้เป็น Dots






Saturday, December 1, 2007

ไม่ลืมจริงหรือ?

จากที่เราได้รู้ระบบ Legibility มาแล้วนั้นมันก็คือระบบ ที่ทำให้รู้ถึงลำดับความสำคัญของการอ่านนั้นเอง
ซึ่งเวลาอ่านเราก็จะเข้าใจง่าย มีการจัดเรียงที่เป็น ระเบียบ มีกริด มีความเป็นมาตรฐาน

แต่พอ David เขาได้มาบอกว่าเขาไม่เคยลืม Legibility เลยนั้น
ทำให้ผมแปลกใจมากๆ ว่าเขา(กวนตีน)หรือเปล่า ซึ่งพอเรามาดูงานเขาแล้ว งานเขาช่างดูเยอะ
วุ่นวาย เป็นความมีอารมณ์สูงมากๆ ลำดับความสำคัญ ความมีระเบียบ นั้นอยู่ตรงไหน อ่านง่ายยังไง

แต่เมื่อเรามองของเขาดีๆแล้ว งานเขาก็ยังอ่านรู้เรื่องอยู่ไม่ถึงกับเอาอะไรมาแปะๆๆๆๆแล้วก็อ่านไม่ออก
ซึ่งนั้นก็เป็นสไตส์และความน่าสนใจที่ไม่ใช่เขาทำ แล้ว ใครมันจะมาทำ จากความบ้าบิ่นและแหกกฎ ทำให้เกิดทางเลือกในการทำสิ่งพิมพ์ที่แตกต่างและ ไม่ติดกับกฎจนเกินไป ถึงจะมีความเป็นตัวของตัวเอง แหกกฎ แต่ก็ไม่ลืมคำว่า
"สื่อสาร"