Monday, January 14, 2008

Error Anatomy




ร่างกายที่มีความผิดพลาดนั้นส่วนมากก็จะเป็นเช่น พิการตามที่ต่างๆของร่างกาย
ผมเลยอยากจะนำเสนอในด้านของ เอ็กเฟ็กที่เกิด กับสื่อมีเดียเช่น ภาพและสี ที่มีความผิดพลาด
เลยดึง ร่างกาย และวิชวล ของความ Error ที่เกิดในสื่อมีเดีย มารวมกัน

ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากจะนำเสนอนั้นก็คือความสะดวกสบายของเทคโนโลยีสมัยนี้ก็ไม่ได้มีข้อดีอย่างเดียว
ข้อเสียของมันก็มีอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้เราลืมและละเลยกับร่างกายเรานั้นเอง
เลยจะนำเสนอโดยเป็นความนัย
ประมาณแบบนี้แหละครับ

ลองดู


จากรูปภาพนี้ผมได้ทดลองโดยการนำภาพหน้าตรงของผมเองซึ่งมีสัดส่วนที่ปกติ
แล้วนำมาจัดวางตำแหน่งของใบหน้าให้เหลี่อมกันนิดหน่อยโดยการใช้วางให้คล้ายๆกับตาราง
จึงเหมือนกับภาพวิดิโอ Error ซึ่งผมได้ลองถอดแบบเอ็ฟเฟ็กของความ Error มา
และสีที่เซฟมาเป็น CMYK จึงทำให้สีออกมาในโทนที่ออกตุนๆและซีดหน่อย

จากการระบายสีด้วยสี อะคิลิค แล้วนำมาสแกนซึ่งผมได้เปลี่ยนค่าสีให้ไม่เหมือนกันเช่นเดิม

ด้านบนเซฟเป็น RGB
ด้านล่างเซฟเป็น CMYK

ซึ่งเหตุผลที่ใช้การลงสีจริงนั้นผมตั้งใจว่าจะให้เห็นถึงการทับซ้อนของสีว่าจะมีเอฟเฟ็ก อย่างไรบ้าง
สีที่เลือกใช้ก็เป็นสีที่มอนิเตอร์ หรือ RGB อ่านได้นั้นเอง ผมจึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ สีดำ เพราะสีดำ เมื่อ
เซฟเป็น CMYK แล้วนำมา POST จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับพื้นที่ๆมีสีดำอยู่เลย



Wednesday, January 9, 2008

ต่อ


เซฟเป็น RGB


เซฟเป็น CMYK

จากที่ POST ด้านล่างไปแล้วนั้นก็ได้เห็นว่าค่าสีที่นั้นมีอยู่ 2 แบบที่ใช้กันบ่อยๆ

RGB นั้นใช้กับจอมอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ หรือสีที่ออกมาจากหลอดไฟนั้นเอง
CMYK นั้นใช้กับ ปริ้นเตอร์ หรือการ พิมพ์งานลงกระดาษนั้นเอง

ส่วนภาพด้านบนนี้เป็นการจัดค่าสี RGB
Red (แดง)
Green (เขียว)
Blue (น้ำเงิน)

เมื่อเรานำค่าสีมาใช้ให้ผิดแล้วก็จะเกิดความผิดพลาด ERROR ได้เช่นกัน

ERRORcolor


เซฟเป็น RGB

เซฟเป็น CMYK

จากรูปด้านบนนี้ เป็นการทดลองให้เห็นแบบสดๆเลยแล้วกัน ซึ่งภาพด้านบน 2 ภาพนี้เป็นภาพๆเดียวกัน
ไม่มีการเปลี่ยนสีหรืออะไรใดๆทั้งสิ้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เซฟค่าสี ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อตอนทำ
ในโปรแกรม Illustrator งานที่เห็นจริงจะเป็นแบบภาพที่เซฟ RGB ภาพด้านบนนั้นเอง

ผมได้เห็นว่า เมื่อเราเซฟรูปเป็น CMYK แล้วนำรูปนั้นมาโพสต์ลงบล็อกรูปภาพที่เกิดสีมันมีความ
ผิดพลาดเกิดขึ้นนั้นก็เป็นเพราะว่า ระบบอุปรณ์ประเภทจอมอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ จะอ่านค่าสีที่ถูกต้องนั้นต้องเป็น RGB เท่านั้น เมื่อเรานำภาพที่เป็น CMYK ภาพที่เกิดจากการอ่านค่าสีที่ผิดก็เลย
เกิดผลอย่างที่เห็น

CMYK นั้นใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องพิมพ์สีต่างๆ
cyan (ฟ้าอมเขียว)
magenta (แดงอมม่วง)
yellow (เหลือง)
key (ดำ)

Sunday, January 6, 2008

INTERACTIVE PHOTO


สวัสดีครับทุกคน
เนื่องด้วยวิชา Com Art ได้มีโปรเจคร์เกี่ยวกับงาน Interactive Art
ตอนนี้เราได้รวบรวมภาพถ่ายของทุกคนไว้ได้ส่วนหนึ่ง แล้วเราก็ได้นำภาพของทุกคนมาเดินทางไปด้วยกันโดย
จากที่ให้ถ่ายรูปเส้นตรงโดยที่ไม่บอกว่าไปทำอะไร

เมล์ทั้งหมดนี้จะเป็นเมล์ของคนที่ถ่ายรูปให้เราเราจะส่งไฟล์ mv ที่ตัดต่อแล้วไปให้ภายหลังครับ ขอขอบพระคุณมากครับ ท่าไม่มีรูปของทุกคนเราก็คงเดินไปไม่ถึงจุดหมาย
berroua@hotmail.com
chockkie_girl@hotmail.com
bowling1986@hotmail.com
bow_l2525@hotmail.com
gong9009@hotmail.com
chong_mim1@hotmail.com
me_chezz@hotmail.com
eve1@hotmail.co.uk
lert1@hotmail.com
sealonely@hotmail.com
mashuperame@hotmail.com
puipapercup@hotmail.com
ar_nguan@hotmail.com
april12_lvp@hotmail.com
arai_152@hotmail.com
babyboycan@hotmail.com
blacky_p@hotmail.com
eaung26@hotmail.com
Darkangel_2822@hotmail.com
get_yammy@hotmail.com

Saturday, January 5, 2008

3 step


นิยามที่สำคัญของระบบคงทนต่อความเสียหายได้แก่
ความเสียหาย (Fault), ความผิดพลาด (Error), และ ความล้มเหลว (Failure)
เนื่องจากนิยามเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ความเสียหายก่อให้เกิดความผิดพลาด และ ความผิดพลาดก่อให้เกิดความล้มเหลว ตามลำดับ ความเสียหายหมายถึงความเสียหายทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ ความเสียหายอาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของตัวนำ ความไม่สมบูรณ์ของสารกึ่งตัวนำในการผลิต หรือในซอฟต์แวร์เป็นการทำวงรอบที่ไม่สิ้นสุด ความผิดพลาดเป็นการขยายผลสืบเนื่องจากความเสียหาย ความผิดพลาดเป็นการทำงานที่แตกต่างไปจากความถูกต้อง หรือความเที่ยงตรงในการทำงาน เช่น ความเสียหายจากความไม่สมบูรณ์ของตัวนำทำให้ค่าสัญญาณติดอยู่ที่ลอจิก 1 ซึ่งถ้าค่าจริงของระบบควรจะเป็นลอจิก 0 เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เป็นได้ว่าความผิดพลาดเป็นผลมาจากความเสียหาย ความล้มเหลว เป็นสภาวะที่ระบบไม่สามารถทำงานได้ตามฟังก์ชั่นพื้นฐานที่ถูกออกแบบมา สภาวะดังกล่าวอาจเรียกว่า Malfunction เมื่อเกิดความเสียหาย และต่อมาส่งผลให้เกิดความผิดพลาด สุดท้ายจะส่งผลให้ระบบล้มเหลว
ซึ่งหลักการนี้ก็อาจจะคล้ายกับหลักการที่ผมเสนอไปตอนแรก แต่ที่ว่ามานั้นมันเป็นหลักการเกิดความ
ผิดพลาดกับ สื่ออิเล็กโทนิคเซะป็นส่วนมาก ซึ่งปัญหาก็จะแตกต่างกันออกไป
ขอขอบคุณ Vara Varavithya สำหรับนิยามนี้

Friday, January 4, 2008

สัดส่วน !

สิ่งที่สามารถผิดพลาดและส่วนมากทุกคนจะมองข้ามกันไปก็คือร่างกายนั้นเอง
ร่างกายคนเรามีความซับซ้อน และละเอียดอ่อนอย่างมาก มีระบบต่างๆในร่างกายหลายอย่างระบบการไหลเวียนของเลือด ระบบน้ำเหลือง ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ทุกอย่างทำงานร่วมกัน
แต่เมื่อระบบอะไรระบบหนึ่งทำงานผิดปกติ หรือ เสียหาย ก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่างๆได้เช่น เป็นโรค หรือผิดปกติต่างๆ ซึ่งผมว่าเวลาเราเห็นคนที่ไม่ปกติหรือพิการอะไรบางอย่าง
(ไม่ได้ล่อเลียนคนพิการนะครับ) ทำให้เราคิดว่าเขานั้นผิดปกติไม่เหมือนกับคนเราธรรมดาซึ่งจริงๆแล้วเขาก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเราเลย บางทีคนธรรมดาอาจจะมีความผิดปกติในด้านอื่นที่เลวร้ายมากกว่าอีก ที่พูดมานั้นอาจจะดู เครียดๆไปซะหน่อยแต่ผมว่ามันทำให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่คนเราส่วนมากจะตัดสินใจกันแค่ภายนอกเท่านั้น ภาพด้านล่างนี้เป็นการทดลองสัดส่วนที่ผิดปกติ


โดยการนำภาพ Anatomy ที่มีสัดส่วนที่ถูกต้องมา ตัดแปะและบิดเบือนสัดส่วนให้เพี้ยนไป
ท่าตามขั้นตอนผมก็ไปหาภาพสัดส่วนที่สมบูรณ์มาแล้วก็นำมายำใหม่
ซึ่งท่ามองในแง่ความเป็นจริง ร่างกายที่สมบูรณ์อาจจะมีระบบผิดปกติ ก็เปรียบกับเหมือนที่ผมยำรูปภาพให้เป็นแบบนี้ มันตัวที่ทำให้ผิดปกติ ฟังดูงงๆ เปรียบเหมือนกับ กิริยาแล้วกัน ถูกทำโดยภาพนี้ ผมเป็นคนทำแต่ความเป็นจริงนั้นร่างกายเป็นคนทำตัวมันเองหรืออาจจะเป็นเพราะเซลซ์บางอย่าง ก็ว่าไปตามกรณีไป